ยินดีต้อนรับสู่ Blog ให้ความรู้เรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศ เชิญชมด้านล่างได้เลยค่ะ

วันพฤหัสบดีที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2563


ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ Electronic mail: Email

         บริการอินเทอร์เน็ตชนิดหนึ่งที่นิยมใช้มากที่สุดและเป็นประโยชน์ต่อคนทั่วไปให้สามารถติดต่อสื่อสารข้อมูลกันได้อย่างรวดเร็วคือ บริการไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์

ความหมายไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Mail)

        E-mail ย่อมาจาก Electronic Mail ในภาษาไทยบางครั้งเรียก จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ บางครั้งเรียก ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ส่วนในพจนานุกรมศัพท์คอมพิวเตอร์ฉบับราชบัณฑิตยสถานใช้คำว่า  
ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์
    ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์(E-mail) คือวิธีการติดต่อสื่อสารด้วยตัวหนังสือแบบใหม่แทนจดหมายบนกระดาษแต่ใช้วิธีการส่งข้อความในรูปของสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์จากเครื่องคอมพิวเตอร์หนึ่งไปยังผู้รับอีกเครื่องหนึ่ง

จุดเด่นของไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Mail)

               จุดเด่นที่ทำให้ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย เมื่อเปรียบเทียบกับการส่งจดหมายด้วยกระดาษธรรมดาหรือไปรษณีย์ธรรมดาๆ แล้ว การส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ดูเหมือนจะยุ่งยากและมีวิธีการใช้สลับซับซ้อนกว่า แต่ถ้าหากพิจารณาดูแล้วจะพบว่า ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ไม่ได้ยุ่งยากโดยเฉพาะในปัจจุบัน โปรแกรมที่ใช้รับส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ได้รับการพัฒนาให้ใช้งานได้อย่างสะดวกไม่ซับซ้อนและที่สำคัญ ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์มีจุดเด่นกว่าไปรษณีย์ธรรมดาหลายประการ ดังนี้

  1. ความรวดเร็ว ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์เดินทางจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งได้รวดเร็วมาก เช่น เราสามารถส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์จากประเทศไทยไปยังผู้รับที่อยู่ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ภายใน 1-5นาทีเท่านั้นเองถ้าส่งไปรษณีย์ด่วน EMS อย่างเร็วที่สุดต้องใช้เวลา 2-3 วัน ซึ่งเปรียบเทียบกันไม่ได้เลยกับความเร็บของไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์
  2. .ความประหยัด ค่าใช้จ่ายในการส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ถือว่าต่ำมาก เมื่อเปรียบเทียบกับจดหมายธรรมดา ปกติถ้าเราส่งจดหมายธรรมดาต้องซื้อซอง ซื้อกระดาษ ซื้อแสตมป์ ค่าลงทะเบียนจดหมายด่วน EMS ยิ่งถ้าส่งไปต่างประเทศก็ต้องเสียค่าใช้จ่ายมากขึ้น และถ้าส่งเดือนละหลายฉบับ ค่าใช้จ่ายก็ยิ่งเพิ่มมากขึ้น แต่ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ ค่าใช้จ่ายไม่แพง มีเพียงค่าโทรศัพท์และค่าบริการอินเทอร์เน็ตรายเดือนที่เราใช้กันอยู่เท่านั้น
  3. ไม่จำกัดระยะทาง  ระยะทางเป็นข้อจำกัดสำคัญในการติดต่อสื่อสารกันเราไม่ต้องเดินไปที่ที่ทำการ-ไปรษณีย์หรือตู้ไปรษณีย์เพื่อส่งจดหมาย เราสามารถนั่งอยู่ที่บ้านหรือที่ทำงาน พิมพ์และส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ได้โดยไม่ต้องเดินทางไปไหนเลย

ที่อยู่ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Mail Address)

               ที่อยู่ของไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-mail Address) คือ ที่อยู่ในอินเทอร์เน็ต หรือที่อยู่ของตู้จดหมาย        ของผู้ใช้อินเทอร์เน็ต ใช้สำหรับบอกตำแหน่งของผู้รับว่าอยู่ที่ไหน
         

ส่วนประกอบของที่อยู่ของไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-mail Address) ประกอบด้วย 3 ส่วนสำคัญ

                    ดังตัวอย่างต่อไปนี้  antz2003_ja@hotmail.com

  1. ส่วนที่ 1 คือ ชื่อบัญชีสมาชิกของผู้ใช้เรียกว่า user name อาจใช้ชื่อจริง ชื่อเล่น ชื่อองค์กร หรือชื่ออะไรก็ได้ ตามตัวอย่างคือ Antz2003_ja
  2.  ส่วนที่ 2 คือ เครื่องหมาย @ (at sign) อ่านว่า แอท
  3. ส่วนที่ 3 คือ โดเมนเนม (Domain Name) เป็นที่อยู่ของอินเทอร์เน็ตเซิร์ฟเวอร์ที่เราสมัครเป็นสมาชิกอยู่         เพื่ออ้างถึงเมล์เซิร์ฟเวอร์ ประกอบด้วย ชื่อและนามสกุล คั่นด้วยเครื่องหมายจุดตามตัวอย่างคือ  hotmail.com

มารยาทในการใช้งานอินเตอร์เน็ต

                    ปัญหา ข้อควรระวังและข้อควรปฏิบัติ

  1. กรณี ที่อยู่บ้านและใช้โทรศัพท์ธรรมดา ไม่ควรใช้อินเทอร์เน็ตติดต่อกันนาน ๆ เพราะจะทำให้ขาดการติดต่อกันทางโทรศัพท์ซึ่งอาจมีเรื่องสำคัญ จำเป็น ก็ได้  และไม่ควรตั้งระบบโทรศัพท์เป็นระบบสายเรียกซ้อนซึ่งจะทำให้การติดต่ออินเตอร์เน็ตหลุดบ่อย ๆ
  2. การใช้งานบราวเซอร์โดยการเปิดวินโดว์ใหม่(New Windows)อาจทำให้ความเร็วในการติดต่อกัอินเทอร์เน็ตช้าลง หรือเครื่องแฮงค์ไปเลย
  3. การติดต่อไปยัง URL ใหม่ ควร Stop การติดต่อ URL เก่าเสียก่อน จะทำให้ความเร็วในการติดต่อไม่ตก

จริยธรรมและมารยาทในการใช้ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส
               การส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ มีลักษณะบางอย่างที่คล้ายกับการเขียนจดหมายส่งทางไปรษณีย์ นั่นคือเราไม่สามารถแสดงสีหน้า ท่าทาง หรือความรู้สึกให้ผู้รับทราบได้ ดังนั้นผู้ส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์จึงควรมีมารยาทที่ดีหรือข้อพึงปฏิบัติดังนี้

  1. เขียนชื่อที่อยู่ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ของผู้รับให้ชัดเจน ก่อนจะส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ต้องตรวจสอบชื่อและที่อยู่ของผู้รับ ให้แน่ใจ เพื่อจะได้ส่งไม่ผิดคน เพราะบางครั้งอาจเป็นไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์เกี่ยวกับการนัดหมายหรือการอวย พรเนื่องในวันเกิด หรืองานสำคัญอื่น ๆ ถ้าเราส่งผิด ไม่ถึงผู้รับ ก็อาจทำให้เกิดความเสียหายได้
  2. อ่านข้อความให้ดีก่อนส่ง ต้องตรวจดูข้อความให้ละเอียดทุกข้อความว่า เขียนได้กระชับ รัดกุมถ้อยคำเหมาะสมชัดเจน ไม่ควรสะกดคำผิด เขียนผิดไวยกรณ์ หรือเขียนเชิงภาษาพูด เพราะอาจทำให้คนรับอ่านแล้วเข้าใจเนื้อหาผิดไปได้
  3. ใส่หัวเรื่อง (Subject) ให้เรียบร้อยทุกครั้ง เพื่อให้ผู้รับทราบว่าไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ฉบับนั้นๆเขียนด้วยเรื่องอะไร เพื่อให้ผู้รับจะได้คัดเลือกอ่านตามความสำคัญ
  4. การตอบกลับ ปกติเราควรตอบกลับไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ทุกฉบับ เพื่อสื่สารกับผู้ส่ง และไม่ควรปล่อยทิ้งไว้นานเกินไป ถ้าเราได้รับไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ควรอ่านและตอบกลับภายในเวลา 1-2 วันแต่บางครั้งถ้ามีไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์มาก ๆ เราควรพิจารณาดูจากหัวเรื่องว่าฉบับไหนสำคัญมากหรือน้อย แล้วจัดตอมตามลำดับ แต่ถ้าเป็นเรื่องธุรกิจการค้าขาย ควรตอบกับทันที ยิ่งเร็วเท่าไรยิ่งเป็นประโยชน์มากเท่านั้น
  5. ไม่ควรตอบไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ยาวเกินไป เพราะไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ต้องมีค่าใช้จ่ายเพราะค่าบริการการใช้อินเทอร์เน็ตค่อนข้างสูง การเขียนไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ยาวๆ ต้องใช้เวลาในการเรียกข้อมูลนาน ทำให้เสียค่าใช้จ่ายสูง โดยปกติไม่ควรเกินครึ่งหน้ากระดาษ A4

ข้อควรระวัง
               ควรระวังการรับ Mail จากคนที่ไม่รู้จักซึ่งมักตั้งชื่อ Mail น่าสนใจ และจากคนที่ชื่อน่าสนใจเช่น
จากคนที่รักคุณ  เพราะบางทีอาจเป็นไวรัสคอมพิวเตอร์ หรือเป็นโปรแกรมทำลายเครื่องควบคุมระบบเครือข่ายได้

 จริยธรรมและมารยาทการสนทนาผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

               การการสนทนาผ่านเครือข่ายในบางครั้งผู้ร่วมสนทนาเป็นบุคคลที่มาจากทั่วโลก หรือจากบุคคลหลายระดับ และคำสนทนานั้นจะปรากฏให้เห็นบนจอคอมพิวเตอร์  ผู้สนทนาจึงควรปฏิบัติดังนี้

  1. ไม่เขียนคำหยาบคาย
  2. ไม่ควรตำหนิ  ด่า กันระหว่างสนทนา และหลีกเลี่ยงการแสดงความคิดเห็นที่เป็นอคติ หรือระบายความรู้สึกที่ไม่ดีต่อใครบางคน หรือ ไม่ควรนำเรื่องน่าอับอายของผู้อื่นมาสนทนาเขียนลงบนหัวข้อสนทนา
  3. ไม่ควรนำเรื่องส่วนตัวอันไม่พึงเปิดเผยมาสนทนากัน
  4. การร่วมกิจกรรม Web Board ควร Post หัวข้อที่น่าจะมีประโยชน์ไม่ใช่หัวข้อที่เสียเวลาไร้ประโยชน์ เช่น "ใครคิดว่าชั้น ป.6 ก.ใครสวยที่สุด" แล้วก็ให้แสดงความคิดเห็น  หัวข้อควรมีประโยชน์เช่น "โรงเรียนของเราควรทำสวนหย่อมที่ข้างโรงเรียนใหม่หรือไม่"  เป็นต้น
  5. ข้อความที่ใช้ควรเป็นข้อความที่สุภาพ  และเคารพความคิดเห็นของผู้อื่นแม้จะไม่เห็นด้วย  ควรติพร้อม   ให้ข้อเสนอแนะ

ข้อควรระวัง


  1. อย่าเชื่อผู้สนทนาที่เราไม่รู้จัก
  2. อย่าบอกชื่อ  ที่อยู่  และหมายเลขโทรศัพท์จริง ของผู้ใช้ให้กับคู่สนทนาที่ไม่รู้จักกันมาก่อน


อ้างอิง: http://www.nrw.ac.th/krumod/Ant/b8.html 









ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น